มาตรฐานวิชาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ตำแหน่ง นักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระดับ 5
ข้อมูลเบื้องต้น
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มุ่งเน้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ มีความเป็นสากล และเหมาะสมกับประเทศไทย เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ และระดับสากล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ อาเซียน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่าย การจัดทำ พัฒนา และเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เป็นที่รับรู้และยอมรับในทุกภาคส่วน
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ฉบับนี้จัดทำขึ้นด้วยความสำคัญเร่งด่วนเพื่อตอบสนองความต้องการด้านภูมิสารสนเทศของประเทศ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิสารสนเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมกับเทคนิควิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) โดยจากการวิเคราะห์พบว่า มีหน้าที่หลัก (Key Function) 5 หน้าที่หลัก ซึ่งทุกหน้าที่งานมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานด้านภูมิสารสนเทศทั้งสิ้น ซึ่งรายละเอียดที่อยู่ในมาตรฐานอาชีพนี้
คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)
ผู้ที่สามารถนำความรู้ทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดเป็นภูมิสารสนเทศเชิงประยุกต์สนับสนุนการปฏิบัติงาน ดังนี้
o เข้าใจความรู้พื้นฐานของข้อมูลภูมิสารสนเทศ
o สืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลทางภูมิสารสนเทศ
o ปรับปรุงข้อมูลพื้นฐานแสดงข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
o สร้างแผนที่และผลิตภัณฑ์จากข้อมูลภูมิสารสนเทศได้
การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathway)
คุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist) ระดับ 5 ทั้งนี้ต้องมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
✓ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรืออนุปริญญา หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือสูงกว่า หรือกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีสุดท้ายของระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ
✓ ผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องทางด้านภูมิสารสนเทศ อย่างน้อย 2 หลักสูตร หรือ
✓ ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานภูมิสารสนเทศไม่น้อยกว่า 2 ปี
กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)
ผู้ทำงานในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นักสารสนเทศภูมิศาสตร์นักวิชาการสถิตินักวิจัย วิทยากรบรรยายการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย นักสำรวจดิน นักวิชาการป่าไม้เจ้าหน้าที่แผนที่ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมนักสถิติ วิศวกรชลประทาน นายช่างชลประทาน วิศวกร นักอุทกวิทยา เจ้าหน้างานอุทกวิทยา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน นายช่างรังวัด เจ้าหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักวิชาการด้านการรับรู้ระยะไกล เจ้าหน้าที่สำรวจและนำเข้าข้อมูล นายช่างโยธา ช่างสำรวจ นายช่างไฟฟ้า และวิศวกรสำรวจ บุคคลที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่สนใจในงานด้านภูมิสารสนเทศ
หน่วยสมรรถนะ
